By: Tong March 1, 2023 0 Comment.

โรงงานน้ำพริก

ได้รับการรับรองมาตรฐาน GMP Codex/ISO/Halal/อ.ย

บริษัทคุณแม่จู้จำกัด

ภาพกระบวนการผลิตแกงไตปลา – บริษัทคุณแม่จู้จำกัด

โรงงานน้ำพริก ภูเก็ต ที่ได้รับมาตรฐานชั้นนำ อาทิ GMP Codex / ISO9001 / Halal / อ.ย
วันนี้แอดมินจะมาให้ความรู้เกี่ยวกับ มาตรฐานต่างๆ อาทิ GMP Codex, ISO และ ฮาลาล
มาเริ่มกันที่ตัวแรกนะคะ


GMP – Good Manufacturing Practice

คือ หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร ข้อกำหนดขั้นพื้นฐานที่จำเป็นในการผลิตและควบคุมเพื่อให้ผู้ผลิตปฏิบัติตาม หลักการคือ เน้นขจัดความเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดอาหารเป็นพิษ เพื่ออาหารที่ปลอดภัย ได้รับความเชื่อถือ จากผู้บริโภค โดยอาศัยหลายปัจจัย หากมีการปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดจะทำให้อาหารมีคุณภาพและปลอดภัยต่อผู้บริโภค

โรงงานน้ำพริก
ผังกระบวนการ GMP – General GMP

ให้มีระบบ บันทึกข้อมูล การตรวจสอบ และติดตามผลคุณภาพของผลิตภัณฑ์

GMP แบ่งได้ 2 ประเภท 1. สุขลักษณะทั่วไป – หลักเกณฑ์ที่ใช้กับอาหารทุกประเภท

2.เฉพาะผลิตภัณฑ์ Specific GMP ข้อกำหนดเพิ่มเติม เพื่อเน้นเรื่องการจัดการความเสี่ยงและความปลอดภัยของแต่ล่ะผลิตภัณฑ์เฉพาะ

มาตรฐาน GMP Codex


คือ มาตรฐานที่สมาชิกทั่วโลกใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค

ข้อกำหนดมาตรฐานของ GMP Codex


1.วัตถุประสงค์ (Objectives)

2.ขอบข่าย การใช้ และนิยามศัพท์ (Scope, Use and Definitions)

3.ข้อกำหนดเกี่ยวกับสินค้าวัตถุดิบก่อนการผลิต (Primary Production)

3.1 สุขลักษณะของสภาพแวดล้อม (Environmental Hygiene)
3.2 แหล่งวัตถุดิบหรือแหล่งอาหารต้องผ่านกรรมวิธการผลิตอย่างถูกต้อง (Hygienic Production of Food Sources)
3.3 กรรมวิธีผลิต การจัดการ การเก็บรักษา และขนส่ง (Handling, Storage and Transport)
3.4 การทำความสะอาด การบำรุงรักษา และสุขอนามัยส่วนบุคคล (Cleaning, Maintenance and Personnel Hygiene at Primary Production)

แผงควบคุมเครื่องRetort – บริษัทคุณแม่จู้จำกัด

4. สถานที่ประกอบการผลิต – การออกแบบและสิ่งอำนวยความสะดวก (Establishments, Design and Facilities)

4.1 สถานที่ประกอบการ สถานที่ตั้ง เครื่องมือ (Establishments, Location and Equipment)
4.2 อาคารผลิต (Premises and Rooms) การออกแบบ การจัดวางตำแหน่ง (Design and Layout) โครงสร้างภายในและการติดตั้ง (Internal Structures and Fittings) สิ่งปลูกสร้างชั่วคราว เคลื่อนย้ายได้ และ เครื่องจำหน่าย (Temporary / Mobile Premises and Vending Machines)

4.3 เครื่องมือ (Equipment) เครื่องควบคุมและตรวจสอบอาหาร (Food Control and Monitoring Equipment)  ภาชนะใส่ของเสีย และสารที่รับประทานไม่ได้ (Containers for Waste and Inedible Substances)

4.4 สิ่งอำนวยความสะดวก (Facilities)

น้ำใช้ดื่ม น้ำอุปโภค ( Water Supply)

การระบายและกำจัดของเสีย (Drainage and Waste Disposal)

การทำความสะอาด (Cleaning)

สิ่งอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับ สุขอนามัยส่วนบุคคลและห้องน้ำ (Personnel Hygiene Facilities and Toilets)

การควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Control)

คุณภาพอากาศและการถ่ายเทอากาศ (Air quality and Ventilation)

ระบบแสงสว่าง (Lighting)

การเก็บรักษา (Storage)

ภาพการตรวจวัดอุณหภูมิก่อนการบรรจุ – บริษัทคุณแม่จู้จำกัด

5.การควบคุมกรรมวิธีการผลิต (Control of Operation)

5.1 การควบคุมอันตรายของอาหาร (Control of food Hazards)

5.2 จุดสำคัญที่ต้องควบคุมด้านสุขอนามัย (Key Aspects of Hygiene Control System)

การควบคมอุณหภูมิและเวลา (Temperature and Time Control)

ขั้นตอนพิเศษในกรรมวิธีผลิต (Specific Process Steps)

คุณลักษณะเฉพาะทางจุลชีววิทยาหรืออื่นๆ (Microbiological and Other Specifications)

การป้องกันการปนเปื้อนข้ามทางจุลชีววิทยา (Microbiological Cross-Contamination)

การปนเปื้อนทางกายภาพและเคมี (Chemical and Physical Contamination)

5.3 ข้อกำหนดการรับวัตถุดิบ (Incoming Raw Material Requirements)

5.4 การบรรจุหีบห่อ (Packaging)

5.5 น้ำ (Water)

น้ำที่สัมผัสกับอาหาร (In contact with food)

เป็นส่วนผสมของอาหาร (As an Ingredient)

น้ำแข็ง และ ไอน้ำ (Ice and Steam)

5.6 การบริหารการจัดการและควบคุมดูแล (Management and Supervision)

5.7 เอกสารและบันทึกข้อมูล (Documentation and Records)

5.8 การเรียกคืนสินค้า (Recall Procedures)

6. สถานที่ประกอบการผลิต – การบำรุงรักษาและสุขาภิบาล (Establishment: Maintenance and Sanitation)

6.1 การบำรุงรักษาและทำความสะอาด (Maintenance and Cleaning)

6.2 โปรแกรมการทำความสะอาด (Cleaning Programs)

6.3 ระบบควบคุมแมลงและสัตว์นำโรค (Pest Control Systems)

การป้องกันไม่ให้เข้ามาภายในอาคาร (Preventing Access)

การหลบซ่อนและการระบาด (Harborage and Infestation)

การเฝ้าระวังและการตรวจสอบ (Monitoring and Detection)

การกำจัด (Eradication)

6.4 การกำจัดของเสีย (Waste Management)

6.5 การตรวจสอบประสิทธิภาพ (Monitoring Effectiveness)

7. สถานที่ประกอบการผลิต: สุขลักษณะส่วนบุคคล ( Establishment: Personal Hygiene)

7.1 สุขภาพ (Health Status)

7.2 การเจ็บป่วย และบาดเจ็บ (illness and Injuries)

7.3 การรักษาความสะอาดส่วนบุคคล (Personal Cleanliness)

7.4 อุปนิสัยส่วนบุคคล ( Personal Behavior)

7.5 ผู้เข้าเยี่ยมชม (Visitors)

8.การขนส่ง (Transportation)

ความต้องการด้านขนส่ง (Requirement)

การใช้งานและการบำรุงรักษา (Use and Maintenance)

9. ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และความเข้าใจของผู้บริโภค (Product Information and Consumer Awareness)

9.1 การระบุรุ่นผลิตภัณฑ์ (Lot Identification)

9.2 ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ (Product Information)

9.3 ฉลากอาหาร (Labelling)

9.4 การให้ความรู้แก่ผู้บริโภค (Consumer Education)

10. การฝึกอบรม (Training)


10.1 ความรู้และหน้าที่รับผิดชอบ (Awareness and Responsibilities)

10.2 โปรแกรมการฝึกอบรม (Training Programs)

10.3 คู่มือการปฏิบัติงานและการควบคุม (Instruction and Supervision)

10.4 การฝึกอบรมทบทวน (Refresher Training)

 มาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001

ISO9001 มาตรฐานสากลที่องค์กรธุรกิจทั่วโลกให้ความสำคัญ เพื่อประสิทธิภาพการทำงานภายในองค์กร

แนวคิดสำคัญของ ISO คือการจัดวางระบบการบริหารงานเพื่อประกันคุณภาพ ซึ่งเป็นระบบที่ทำให้เชื่อมั่นได้ว่า กระบวนการต่างๆ ได้รับการควบคุมและสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ ผ่านระบบที่ระบุขั้นตอนและวิธีการทำงานเพื่อให้มั่นใจได้ว่า บุคลากรในองค์กร รู้หน้าที่ความรับผิดชอบและขั้นตอนในการปฏิบัติงาน โดยมีการฝึกอบรมให้ความรู้ ทักษะในการปฏิบัติงาน มีการจดบันทึกข้อมูล รวมทั้งการตรวจสอบการปฏิบัติงานซึ่งเป็นไปตามที่ระบุไว้ในระบบหรือไม่ และมีการแก้ไขข้อผิดพลาดรวมถึงแนวทางการป้องกัน การเกิดข้อผิดพลาดเดิมซ้ำ

มาถึงมาตรฐานสุดท้ายแล้วนะคะ นั้นคือ ฮาลาล
ฮาลาล คือ อาหารหรือผลิตภัณฑ์อาหารซึ่งอนุมัติตามบัญญัติศาสนาอิสลามให้มุสลิมบริโภคหรือใช้ประโยชน์ได้ ฮาลาล มาจาก ภาษาอารบิก หมายความว่า การผลิต การให้บริการ หรือการจำหน่ายใดๆ ที่ไม่ขัดต่อบัญญัติศาสนา อาหารฮาลาลคือ อาหารที่ผ่านกรรมวิธีในการทำ ผสม ปรุง ประกอบ หรือแปรสภาพ ตามศาสนบัญญัติ เป็นการรับประได้ว่า ชาวมุสลิมสามารถทานได้อย่างสนิทใจ
เครื่องหมายฮาลาล คือ เครื่องหมายที่คณะกรรมการฝ่ายกิจการฮาลาลของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย หรือ คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดต่างๆ ได้อนุญาตให้ผู้ประกอบการทำการประทับ หรือแสดงลงบนสลาก หรือผลิตภัณฑ์ โดยใช้สัญลักษณ์ที่เรียกว่า ฮาลาล


มาตรฐานอาหารฮาลาล


Codex ได้จัดทำเอกสาร General Guideline for use of the Term ” Halal “ ตั้งแต่ปี 2540 และสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม(สมอ.) ได้นำมาเรียบเรียงและจัดพิมพ์เป็นภาษาไทยโดยได้ยึดหลัก และอ้างอิงเอกสารภาษาอังกฤษดังกล่าว มอก.1701-2541 ZCAC GL- 24/1997) ข้อแนะนำนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ประเทศต่าง ๆ มีความเข้าใจที่ตรงกัน และมีการปฏิบัติอย่างถูกต้องตามกฎของศาสนาอิสลาม ทั้งทางด้านแหล่งที่มาของอาหาร วิธีการฆ่าสัตว์ การเตรียมอาหาร การแปรรูปอาหาร การบรรจุหีบห่อ การขนส่งและการเก็บรักษาอาหารอีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการค้ากับประเทศมุลลิมที่กำหนดมาตรการนำเข้าอาหารฮาลาล

อ่านบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง:
มาตรฐานISO-9000:2015 | GMP | ร้านคุณแม่จู้ของฝากเมืองภูเก็ต
ดีลเลอร์ | เปิดรับตัวแทนจำหน่ายสินค้า #เราจะรวยไปด้วยกัน
ข้อมูลอ้างอิง
https://www.chi.co.th/article/article-1212/

http://isoezy.com/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99-gmp/

https://www.acfs.go.th/halal/general.php

Go To Top
X